หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
1) วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
หลักคำสอน 3 ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป
2.) วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นวันที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญมาบรรจบกัน คือ
1. เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระพุทธเจ้า ณ สวนลุมพินีวัน ประเทศอินเดีย
2. เป็นวันตรัสรู้ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แขวงเมืองราชคฤห์
3. เป็นวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ สาละโนทยาน เมืองกุสินารา
หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา เป็นเหตุการณ์ในวันตรัสรู้ ที่พระองค์ทรงพิจารณาอริยสัจ 4 โดยละเอียด จนสามารถหมดกิเลสและอาสวะอย่างสิ้นเชิง หลักธรรมข้ออริยสัจ 4 หรืออริยมรรคมีองค์ 8
อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมข้อสำคัญที่เป็นหัวใจหลักของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธเจ้าได้ประกาศพระพุทธศาสนาแพร่หลายมา อ่านเพิ่มเติม
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559
หน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธ
พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้
บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาหน้าที่ของพระภิกษุที่สัมพันธ์กับคฤหัสถ์ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ชาวบ้าน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่พระภิกษุเป็นเสมือนทิศเบื้องบนได้แก่
๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว คือ งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทำลายทั้งชีวิตตนเองและผู้อื่น
๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี งดเว้นอบายมุข 6
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดีด้วยน้ำใจอันงามโดยยึดถือหลักสังคหวัตถุ 4
๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง คือ สอนให้รู้จักแยกแยะมิตรแท้ มิตรเทียม ให้คบบัณฑิตเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพ
๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ในสิ่งที่สดับเล่าเรียนมาแล้ว เช่น การแสวงหาทรัพย์โดยวิธีสุจริต การรู้จักรักษาทรัพย์ และการดำรงชีวิตตามฐานะ
๖. บอกทางสวรรค์ให้ คือ การแนะนำวิธีครองตน ครองคน ครองงาน หรือวิธีครองชีวิตให้ได้รับผลดีมีความสุข
บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาหน้าที่ของพระภิกษุที่สัมพันธ์กับคฤหัสถ์ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ชาวบ้าน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่พระภิกษุเป็นเสมือนทิศเบื้องบนได้แก่
๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว คือ งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทำลายทั้งชีวิตตนเองและผู้อื่น
๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี งดเว้นอบายมุข 6
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดีด้วยน้ำใจอันงามโดยยึดถือหลักสังคหวัตถุ 4
๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง คือ สอนให้รู้จักแยกแยะมิตรแท้ มิตรเทียม ให้คบบัณฑิตเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพ
๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ในสิ่งที่สดับเล่าเรียนมาแล้ว เช่น การแสวงหาทรัพย์โดยวิธีสุจริต การรู้จักรักษาทรัพย์ และการดำรงชีวิตตามฐานะ
๖. บอกทางสวรรค์ให้ คือ การแนะนำวิธีครองตน ครองคน ครองงาน หรือวิธีครองชีวิตให้ได้รับผลดีมีความสุข
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
ความหมายของศาสนา
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ “ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Religion” คำในภษาละตินว่า “Religio” แปลว่า “สัมพันธ์” หรือ “ผูกพัน” ซึ่งหมายถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า” (Man and God) หรือ “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า” (Man and Gods) ด้วยการมอบศรัทธษบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือตน และความเคารพยำเกรงศรัทธาดังกล่าวประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม
ประวัติพระพุทธเจ้า
ประวัติพระพุทธเจ้า
"ศาสนาพุทธ" เป็นศาสนาประจำชาติไทยของเรา แล้วมีสักกี่คนเอ่ย...ที่ทราบถึงประวัติของ "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ผู้ทรงเป็น "พระศาสดา" ของ "พระพุทธศาสนา" วันนี้กระปุกจึงนำเรื่องราวพุทธประวัติ หรือ ประวัติพระพุทธเจ้า มาฝากกันค่ะ
พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และ "พระนางสิริมหามายา" พระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม ก่อนที่พระนางจะมีพระประสูติกาล ที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ 80 ปีก่อนพุทธศักราช (ปัจจุบันสวนลุมพินีวันอยู่ในประเทศเนปาล)
ทันทีที่ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท พร้อมเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา" แต่หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้แล้ว 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสวรรคาลัย เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในความดูแลของพระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา
ทั้งนี้ พราหมณ์ ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน อ่านเพิ่มเติม
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์พระพุทธ คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์ คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์พระพุทธ คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์ คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
ความสำคัญของพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัยนอกจากจะเป็นแก้วอันประเสริฐของชาวพุทธแล้ว พระรัตนตรัยยังเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่ดีที่สุดของชาวพุทธ ในชีวิตประจำวันของชาวพุทธจะเกี่ยวข้องกับพระรัตนตรัยอยู่เสมอ เช่น ตื่นนอนตอนเช้าสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนไปทำงานนิยมไหว้พระก่อนออกจากบ้านเมื่อไปถึงที่ทำงานนิยมไหว้พระประจำสถานที่ทำงาน และไหว้พระรัตนตรัย ก่อนนอนทุกคืน นักเรียนก็เช่นเดียวกัน ก่อนเข้าเรียนหลังเคารพธงชาตินักเรียนจะต้องสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยก่อนเลิกเรียนก็สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนนอนก็สวดมนต์ ดังนั้นพระรัตนตรัยจึงมีความสำคัญต่อชาวพุทธอย่างยิ่ง
พระรัตนตรัยนอกจากจะเป็นแก้วอันประเสริฐของชาวพุทธแล้ว พระรัตนตรัยยังเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่ดีที่สุดของชาวพุทธ ในชีวิตประจำวันของชาวพุทธจะเกี่ยวข้องกับพระรัตนตรัยอยู่เสมอ เช่น ตื่นนอนตอนเช้าสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนไปทำงานนิยมไหว้พระก่อนออกจากบ้านเมื่อไปถึงที่ทำงานนิยมไหว้พระประจำสถานที่ทำงาน และไหว้พระรัตนตรัย ก่อนนอนทุกคืน นักเรียนก็เช่นเดียวกัน ก่อนเข้าเรียนหลังเคารพธงชาตินักเรียนจะต้องสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยก่อนเลิกเรียนก็สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนนอนก็สวดมนต์ ดังนั้นพระรัตนตรัยจึงมีความสำคัญต่อชาวพุทธอย่างยิ่ง
โอวาท 3 หมายถึง คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำสั่งสอนที่พระองค์ตรัสแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ซึ่งมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ เวฬุวันมหาวิหาร วันนั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เรียกว่า วันมาฆบูชา
โอวาท 3 ได้แก่
1. ไม่ทำชั่ว
2. ทำความดี
3. ทำจิตให้บริสุทธิ์
อนุสาสิกชาดก
อนุสาสิกชาดก: ดีแต่สอนคนอื่น
ในสมัยหนึ่ง
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
ทรงปรารภภิกษุณีผู้พร่ำสอนรูปหนึ่งมักห้ามภิกษุณีรูปอื่นๆไปในที่หวงห้ามแต่ตนเองกลับไป
เป็นเหตุให้ประสบเหตุร้าย ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกป่า จ่าฝูงของนกนับร้อยตัว
อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ วันหนึ่ง มีนางนกจัณฑาลตัวหนึ่ง
แตกฝูงไปหากินไกลถิ่น ที่ทางใหญ่กลางดง ได้เมล็ดข้าวเปลือกและถั่วที่ตกหล่นจากเกวียนชาวบ้านเป็นอาหาร
เกิดความโลภอยากเก็บไว้กินผู้เดียว เมื่อกลับมาหาฝูงจึงให้โอวาทแก่ฝูงนกว่า
" ธรรมดาทางใหญ่ในดงลึก
มีภัยเฉพาะหน้ามาก ทั้งจากฝูงช้าง ม้าและยวดยานที่เทียมโค
ถ้าไม่โผบินขึ้นได้เร็ว ก็อย่าไปที่นั้นนะ
" ฝูงนกจึงตั้งชื่อให้นางนกนี้ว่า
แม่อนุสาสิกา
ต่อมาวันหนึ่ง
นางกำลังหากินอยู่ ได้ยินเสียงยานแล่นมาด้วยความเร็ว
ก็เหลียวดูนึกว่า ยังอยู่ไกลตัว ทันใดนั่นเอง
ยานพลันถึงตัวนาง ด้วยความเร็วปานลมพัด นางไม่อาจโผบินขึ้นได้ทัน
จึงถูกล้อยานทับตัวขาดเป็นสองท่อน นอนตายอยู่ตรงนั้น
นกจ่าฝูง
เมื่อไม่เห็นนางกลับมาเข้าฝูง จึงเรียกประชุมนกและให้ออก อ่านเพิ่มเติม
สาลิตตกชาดก
สาลิตตกชาดก: คนมีศิลปะ
ในสมัยหนึ่ง
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอำมาตย์ในเมืองพาราณสี
มีพราหมณ์ปุโรหิตผู้พูดมากคนหนึ่งประจำราชสำนัก
ถ้าเขาได้พูดแล้วคนอื่นจะไม่มีโอกาสได้พูดเลย
สร้างความรำคาญให้แก่ผู้คนเป็นอย่างมากแม้กระทั่งพระราชา
พระองค์จึงคิดหาวิธีสกัดคำพูดของปุโรหิตนั้น
วันหนึ่ง
พระองค์เสด็จไปพระอุทยานด้วยพระราชรถ ถึงต้นไทรทอดพระเห็นพวกเด็กกลุ่มหนึ่งกำลังยืนมุงดูชายง่อยเปลี้ยผู้หนึ่ง
ดีดก้อนขวดซัดใส่ใบไม้เจาะรูเป็นรูปสัตว์ต่าง
ๆ อยู่ จึงเสด็จเข้าไปทอดพระเนตรดู ทรงคิดได้วิธีสกัดคำพูดของปุโรหิต
รับสั่งให้ชายง่อยเปลี้ยเข้าเฝ้า แล้วตรัสถามว่า
"
ในราชสำนักของเรา มีคนพูดมากอยู่คนหนึ่ง เจ้า
สามารถทำให้เขาหยุดพูดได้ไหม ? "
เขากราบทูลว่า
"
ถ้าได้ขี้แพะถังหนึ่ง อาจทำให้เขาหยุดพูดได้
พระเจ้าค่ะ "
จึงรับสั่งให้นำชายง่อยเปลี้ยเข้าวังด้วย
ให้เขานั่งภายในม่านเจาะรูตรงข้ามกับที่นั่งของพราหมณ์ อ่านเพิ่มเติม
อกาลราวิชาดก
อกาลราวิชาดก: ไก่ขันไม่เป็นเวลา
ในสมัยหนึ่ง
พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
ทรงปรารภภิกษุผู้ท่องบ่นไม่เป็นเวลารูปหนึ่ง
สร้างความรำคาญและความเดือดร้อนแก่หมู่ภิกษุ
ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
พระโพธิสัตว์เกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ บอกศิลปะแก่มานพประมาณ
๕๐๐ คน พวกมานพอาศัยไก่ขันยามตัวหนึ่ง ในการลุกขึ้นศึกษาศิลปะ
ต่อมามันได้ตายไป พวกเขาจึงแสวงหาไก่ตัวอื่นแทนมัน
วันหนึ่ง
มีมานพคนหนึ่งเข้าไปหักฟืนในป่า ได้ไก่ป่าตัวหนึ่งมาเลี้ยงไว้
ไก่ตัวนี้ไม่รู้จักเวลาขัน เพราะเติบโตขึ้นในป่า
บางวันก็ขันดึกเกินไป บางวันก็ขันอรุณขึ้น
พวกมานพพากันตื่นมาศึกษาศิลปะในเวลาดึกเกินไป
ไม่อาจศึกษาได้จนอรุณขึ้น ก็พากันนอนหลับไป
ในเวลาสว่างแล้วก็ไม่ได้ท่องบ่นเลย พวกเขาจึงพากันพูดว่า
" เดี๋ยวมันขันดึกไป
เดี๋ยวมันขันสายไป อาศัยไก่ตัวนี้ พวกเราคงศึกษาศิลปะไม่สำเร็จหรอก
" จึงนำมันไปแกงเป็นอาหารแล้วบอกเรื่องนั้นแก่อาจารย์ อ่านเพิ่มเติม
มหาสารชาดก
มหาสารชาดก: คนที่เหมาะสมกับเหตุการณ์
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า ประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภพระอานนทเถระ เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งนั้น พระสนมของพระเจ้าโกศล มีความประสงค์จะศึกษาธรรมะ จึงขอโอกาสพระราชา นิมนต์พระสงฆ์รูปหนึ่งเข้ามาสอนธรรมะในพระราชวัง พระราชาทรงเห็นดีด้วย จึงกราบทูลแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงจัดส่งพระอานนทเถระเข้าไปแสดงธรรมในพระราชวัง
ต่อมาวันหนึ่ง พระจุฬามณีของพระราชาเกิดสูญหาย พระราชาจึงรับสั่งให้อำมาตย์ตรวจค้นผู้คนในพระราชวังทั้งหมด แต่ก็ไม่พบ ทำให้ผู้คนเกิดความเดือดร้อน
วันนั้น พระเถระเข้าไปพระราชราชวัง พบเห็นความผิดปกติของพระสนม ซึ่งทุกวันพอเห็นพระเถระมา จะพากันร่าเริงยินดี ตั้งใจเรียนธรรม แต่วันนั้น กลับดูเหงาหงอย
ซึมเซา จึงถามดู เมื่อทราบความแล้ว จึงขอเข้าเฝ้าพระราชา และให้คำแนะนำว่า
" อุบายที่จะไม่ทำให้มหาชนลำบาก
แล้วให้เขานำพระจุฬามณีมาคืน พอมีอยู่ โดยใช้บิณฑทาน กล่าวคือ
พระองค์สงสัยคนเท่าใด ก็จับคนเท่านั้น
แล้วให้ฟ่อนฟางหรือก้อนดินไปคนละก้อน บอกให้นำมาโยนทิ้งไว้ที่ห้องหนึ่ง
คนที่ถือเอาพระจุฬามณีไป
ก็จักซุกมากับฟ่อนฟางหรือก้อนดินนั้นนำมาโยนไว้ แล้วให้อำมาตย์ตรวจค้นดู วันแรกถ้ายังไม่พบก็พึงให้ทำเช่นนี้สัก ๓ วัน ผู้คนส่วนใหญ่ก็จะไม่พลอยลำบากด้วย "
ก็จักซุกมากับฟ่อนฟางหรือก้อนดินนั้นนำมาโยนไว้ แล้วให้อำมาตย์ตรวจค้นดู วันแรกถ้ายังไม่พบก็พึงให้ทำเช่นนี้สัก ๓ วัน ผู้คนส่วนใหญ่ก็จะไม่พลอยลำบากด้วย "
พระราชารับสั่งให้ทำเช่นนั้นตลอด ๓ วัน ไม่มีใครนำแก้วจุฬามณีมาคืนเลย พระเถระถวายพระพรอีกว่า
" ถ้าเช่นนั้น โปรดรับสั่งให้ตั้งตุ่มใหญ่บรรจุน้ำเต็มไว้ในท้องพระโรง ทำม่านกั้นบังไว้แล้วให้ผู้คนทุกคนในพระราชวัง ห่มผ้าแล้วเข้าไปในม่านล้างมือที่ตุ่มทีละคนแล้วออกมา "
พระราชารับสั่งให้ทำเช่นนั้นปรากฏว่า ได้แก้วจุฬามณีกลับคืนมา ทรงดีพระ อ่านเพิ่มเติม
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559
ชาดก
ความหมายของชาดก
คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด มีรากคำ
มาจากธาตุ (Root) ว่า ชนฺ แปลว่า “เกิด” แปลง ชนฺ ธาตุเป็นชา ลง ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ ต ปัจจัยตัวนี้กำหนดให้แปลว่า “แล้ว” มีรูปคำเป็น “ชาต” แปลว่า เกิดแล้ว เสร็จแล้วให้ลง ก ปัจจัยต่อท้ายอีกสำเร็จรูปเป็น “ชาดก” อ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่า “ชา-ตะ-กะ” แปลว่าผู้เกิดแล้ว เมื่อนำคำนี้มาใช้ในภาษาไทย เราออกเสียงเป็น ชาดก โดยแปลง ต เป็น ด และให้ ก เป็นตัวสะกดในแม่กก
ในความหมาย คือเล่าถึงการที่พระโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่าง ๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดก เป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้น ๆ อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)